Vossen
hero

บทความ

บทความ ความรู้ทั่วไปต่างๆ ที่น่าสนใจ

8 งานน่าสนใจของบัณฑิตใหม่ไอที

เรียนจบสายไอทีแล้ว จะไปทำงานอะไรได้บ้าง” คำถามนี้อาจค้างคาใจน้อง ๆ หลายคนที่กลายเป็นบัณฑิตหมาด ๆ ด้วยเนื้อหาการเรียนที่กว้าง และครอบคลุมในทุกเซ็กเมนท์ของสายงานไอที แล้วเราจะไปทางไหนดีนะ…วันนี้ เรามี 8 ตัวอย่างงานที่บัณฑิตใหม่ไอทีน่าจะสนใจในหลากหลายธุรกิจมาฝากกัน เผื่อจะเป็นแนวทางให้น้อง ๆ ได้ค้นหาตัวเองให้เจอว่า มีงานอะไรบ้างที่บัณฑิตใหม่สายไอทีสามารถทำได้ไปติดตามกันได้เลย 1. โปรแกรมเมอร์ (Programmer) เชื่อว่าโปรแกรมเมอร์เป็นงานในฝันของน้อง ๆ หลายคน การจะเป็นโปรแกรมเมอร์ในยุคนี้ ทราบแต่เพียงทฤษฎีอย่างเดียวคงไม่ได้ ควรมีภาษาที่ถนัดของตัวเองสักภาษา เช่น ภาษา C, VB, ASP, ฯลฯ และควรมีผลงานมานำเสนอด้วย ที่สำคัญ คนที่ต้องการงานในสายงานนี้ ควรชอบเขียนโปรแกรม-ชอบพัฒนาแอปพลิเคชัน มีแนวคิดใหม่ ๆ เสมอ และที่สำคัญต้องขยันศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม อย่างต่อเนื่อง 2. ผู้ดูแลระบบสารสนเทศ (Administrator) ตำแหน่งผู้ดูแลระบบอาจมีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น อาจเรียกเป็นฝ่ายซัปพอร์ต ฯลฯ งานในตำแหน่งผู้ดูแลระบบอาจไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับนโยบายขององค์กร บางบริษัทอาจหมายรวมถึงการซ่อมพรินเตอร์ ซ่อมสแกนเนอร์ ลงโอเอส ลงไดรเวอร์ แต่บางบริษัทก็อาจเป็นงานดูแลเซิร์ฟเวอร์ ทำแบ็คอัปข้อมูลโดยเฉพาะ […]

8 งานน่าสนใจของบัณฑิตใหม่ไอที

เรียนจบสายไอทีแล้ว จะไปทำงานอะไรได้บ้าง” คำถามนี้อาจค้างคาใจน้อง ๆ หลายคนที่กลายเป็นบัณฑิตหมาด ๆ ด้วยเนื้อหาการเรียนที่กว้าง และครอบคลุมในทุกเซ็กเมนท์ของสายงานไอที แล้วเราจะไปทางไหนดีนะ…วันนี้ เรามี 8 ตัวอย่างงานที่บัณฑิตใหม่ไอทีน่าจะสนใจในหลากหลายธุรกิจมาฝากกัน เผื่อจะเป็นแนวทางให้น้อง ๆ ได้ค้นหาตัวเองให้เจอว่า มีงานอะไรบ้างที่บัณฑิตใหม่สายไอทีสามารถทำได้ไปติดตามกันได้เลย

โปรแกรมเมอร์

1. โปรแกรมเมอร์ (Programmer) เชื่อว่าโปรแกรมเมอร์เป็นงานในฝันของน้อง ๆ หลายคน การจะเป็นโปรแกรมเมอร์ในยุคนี้ ทราบแต่เพียงทฤษฎีอย่างเดียวคงไม่ได้ ควรมีภาษาที่ถนัดของตัวเองสักภาษา เช่น ภาษา C, VB, ASP, ฯลฯ และควรมีผลงานมานำเสนอด้วย ที่สำคัญ คนที่ต้องการงานในสายงานนี้ ควรชอบเขียนโปรแกรม-ชอบพัฒนาแอปพลิเคชัน มีแนวคิดใหม่ ๆ เสมอ และที่สำคัญต้องขยันศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม อย่างต่อเนื่อง

data administrator

2. ผู้ดูแลระบบสารสนเทศ (Administrator) ตำแหน่งผู้ดูแลระบบอาจมีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น อาจเรียกเป็นฝ่ายซัปพอร์ต ฯลฯ งานในตำแหน่งผู้ดูแลระบบอาจไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับนโยบายขององค์กร บางบริษัทอาจหมายรวมถึงการซ่อมพรินเตอร์ ซ่อมสแกนเนอร์ ลงโอเอส ลงไดรเวอร์ แต่บางบริษัทก็อาจเป็นงานดูแลเซิร์ฟเวอร์ ทำแบ็คอัปข้อมูลโดยเฉพาะ คนที่อยู่ในสายงานนี้ต้องเตรียมตัวรับมือภัยคุกคามไว้เสมอ เพราะจะต้องวิ่งวุ่นหาทางแก้ไขจนกว่าจะสำเร็จ

systems-analyst

3. นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst) รูปแบบงานของนักวิเคราะห์และออกแบบระบบคือการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลความต้องการของลูกค้า และนำมาพัฒนาเป็นฐานข้อมูล ระบบงานขององค์กรโดยรวม นอกจากนั้น ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบจะต้องมีสายตาที่กว้างไกล และมองไปถึงอนาคต เพื่อที่จะได้นำมาปรับปรุงองค์กรให้พร้อมในทุก ๆ ด้าน

4. นักข่าวสายไอที ใครคิดจะมาทำ อาชีพนี้ต้องทำใจหน่อย เพราะว่ารายได้-เงินเดือนอาจไม่เท่าเพื่อน ๆ ที่ทำงานตามสายที่เรียนมา ข้อแนะนำคือถ้ามาทำสายนักข่าวก็ต้องมีพื้นความรู้ด้านไอทีที่ดีพอสมควร และควรขยันอ่านหนังสือพิมพ์ให้มาก ๆ จะได้เรียนรู้สำนวน ภาษาของนักข่าวคนอื่น ๆ ว่าเขาเขียนกันอย่างไร จะได้สู้เขาได้ เนื้องานจะเน้นที่การเขียนข่าว ทำข่าวเป็นหลัก และด้วยรูปแบบงานจะช่วยให้เราได้เปิดโลกทัศน์ตลอดเวลา แต่น้อง ๆ ที่จะก้าวสู่งานนี้ควรมีมนุษยสัมพันธ์ดี บางคนที่ไอทีจ๋า และพูดภาษาธรรมดาไม่ค่อยได้ก็อาจต้องฝึกฝนตัวเอง เพราะจะทำให้สื่อสารกับคนอื่นได้ยาก นอกจากนั้นก็ต้องไม่ขี้เกียจหรือกินแรงคนอื่นด้วยนะจ๊ะ

iteamstudio

5. บรรณาธิการนิตยสารไอที ปัจจุบัน หนังสือนิตยสารไอทีผุดขึ้นราวกับดอกเห็ด ไม่แปลกหากคนไอทีจะก้าวมาทำงานในฐานะบรรณาธิการ เขียนบทความ ฯลฯ ที่สำคัญ งานนี้ก็ได้ใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ไม่แพ้งานอื่น ๆ เช่นกัน รูปแบบการทำงานนิตยสารไอทีมักเป็นการเขียนบทความ ทดสอบผลิตภัณฑ์ สัมภาษณ์ผู้บริหารบริษัทต่าง ๆ โดยในแต่ละเล่มมักมีธีมประจำเล่ม ว่าเดือนนี้จะมีเรื่องใดเป็นเรื่องหลักของเล่ม เพื่อดึงดูดใจผู้ซื้อ คนรักงานนี้ต้องเป็นคนหมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง ไม่งั้นแพ้เขาแน่
iteamstudio

6. นักออกแบบเว็บ (Web Designer) สำหรับ คนที่รักงานด้านศิลปะ งานออกแบบ และเรียนมาทางด้านไอทีคงรักที่ทำงานร่วมกับโปรแกรมอย่าง Macromedia Dreamweaver, Flash เป็นแน่แท้ โอกาสของการทำเว็บในช่วงนี้ค่อนข้างเปิดกว้าง จะทำแบบเป็นฟรีแลนส์ก็ดี หรืองานในองค์กรก็ดี ถ้ามีฝีมือก็สามารถทำได้ทั้งนั้น ยิ่งในปัจจุบัน หน่วยงานราชการต้องเร่งแต่งตัวรับยุคไอทีตามนโยบายรัฐบาล ยิ่งต้องมีการเร่งทำเว็บไซต์เพื่อให้บริการประชาชนเป็นการใหญ่ แต่ถ้าไม่สนใจเว็บเซอร์วิส ตลาดอีคอมเมิร์สก็ยังโตไม่เลิก เรียกว่ามีทางให้เลือกมากมายทีเดียว ขอให้มีฝีมือแล้วกัน

 
iteamstudio

7. พนักงานขาย การเป็นพนักงานขายเป็นอีกตำแหน่งหนึ่งที่น่าสนใจ ปัจจุบันมีงานขายหลายประเภทที่ต้องการผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคเป็น ผู้อธิบาย เพื่อจะได้สร้างความน่าเชื่อถือให้ลูกค้า เช่น เซิร์ฟเวอร์, โซลูชันไอที, ระบบซีเคียวริตี้, อุปกรณ์เน็ตเวิร์ก คนขายที่ดีควรจะเจรจาเก่ง มีวาทศิลป์ มีความสามารถในการโน้มน้าวจิตใจผู้ฟังได้ดี
iteamstudio

8. คุณครูสอนวิชาคอมพิวเตอร์ โลกแห่งการศึกษาเปิดกว้างออกอย่างนี้ วิชาคอมพิวเตอร์ก็เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่คนทุกรุ่นนิยมเรียน ไม่ว่าจะเป็นเด็กประถม วัยเริ่มต้นทำงาน วัยกลางคน หรือคุณตาคุณยายที่มาเรียนยามว่าง ถ้าเป็นคนชอบการถ่ายทอด และสามารถสอนได้ดี ก็ยิ่งช่วยให้เส้นทางสายนี้ก้าวไปได้ไกลมากขึ้น

อ้างอิง : http://men.mthai.com/work/work-tips/275.html

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *