ทำอย่างไรเมื่อคุณเป็น “มือใหม่หัดเขียน RESUME”
เรซูเม่เป็นการสรุปข้อมูลเกี่ยวกับตัวคุณ ให้นายจ้างรู้จัก ก่อนที่เขาจะเห็นตัวจริงของคุณเสียอีก เรซูเม่จึงถือเป็น First Impression เลยก็ว่าได้ซึ่งคุณจะต้องดึงจุดเด่นของคุณ ออกมาให้ นายจ้างรู้สึกอยากเจอตัวผู้เป็นเจ้าของประวัติ และนั่นจะทำให้คุณได้รับโอกาสในการสัมภาษณ์คุณจึงต้องให้ความพิถีพิถันกับ ขั้นตอนนี้ให้มาก
เรซูเม่เป็นการสรุปข้อมูลเกี่ยวกับตัวคุณ ให้นายจ้างรู้จัก ก่อนที่เขาจะเห็นตัวจริงของคุณเสียอีก เรซูเม่จึงถือเป็น First Impression เลยก็ว่าได้ซึ่งคุณจะต้องดึงจุดเด่นของคุณ ออกมาให้ นายจ้างรู้สึกอยากเจอตัวผู้เป็นเจ้าของประวัติ และนั่นจะทำให้คุณได้รับโอกาสในการสัมภาษณ์คุณจึงต้องให้ความพิถีพิถันกับ ขั้นตอนนี้ให้มาก
1. ควรเขียนเรซูเม่เป็นภาษาอังกฤษ เพราะจะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้คุณดูน่าสนใจ
2. เขียนชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และอีเมล์
– ควรใส่ชื่อ นามสกุลเต็ม ไม่ควรวงเล็บชื่อเล่น
– ใต้ชื่อให้ใส่ที่อยู่ที่ครบถ้วนและชัดเจน
– หมายเลขโทรศัพท์ ควรให้ทั้งโทรศัพท์บ้าน และโทรศัพท์มือถือ
3. จุดมุ่งหมายในอาชีพ
– การใส่จุดมุ่งหมายในอาชีพ จะทำให้คุณดูเป็นคนมีแบบแผนในการทำงานรู้ความต้องการของตนเอง มีความเชื่อมั่น และกระตือรือร้น ซึ่งจะทำให้คุณดูโดดเด่นกว่าผู้สมัครคนอื่น
– พยายามเขียนจุดมุ่งหมายในอาชีพให้สอดคล้องกับลักษณะงานที่คุณไป สมัครที่สำคัญควรเขียนในลักษณะที่เป็นไปได้ ระวังอย่าให้ดูหรูหราเกินจริง
– พยายามใช้คำพูดที่มีลักษณะทางบวก เช่น ประสิทธิภาพ ความรับผิดชอบสูงความละเอียดรอบครอบ เพิ่มผลผลิต เป็นต้น
4. ประสบการณ์
– สรุปประสบการณ์ที่คุณคิดว่า เป็นผลสำเร็จในด้านต่างๆ จากการเรียน หรือการทำกิจกรรมของคุณ เช่น ด้านความเป็นผู้นำ ด้านการช่วยเหลือสังคมให้สั้น กระชับเพียง 2-3 ประโยคเท่านั้น
– ประสบการณ์ของคุณมีผลดีต่อคณะ สถาบัน หรือสังคมอย่างไร
– ในข้อนี้จะทำให้บริษัทเห็นว่าคุณเป็นคนมีความสามารถ ซึ่งในกรณีที่ผู้สมัครมีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน คุณก็จะโดดเด่นขึ้นมา
5. การศึกษา
– เขียนประวัติการศึกษาล่าสุดเป็นอันดับแรก แล้วย้อนลงไปตามลำดับ
– เขียนประสบการณ์การฝึกอบรม หรือกิจกรรมนอกหลักสูตรลงไปด้วย (ถ้ามี)
– หากได้รับเกียรตินิยม หรือเกรดเฉลี่ยในระดับสูง ก็ควรใส่ลงไปด้วย
6. ประวัติส่วนตัว
– วัน/เดือน/ปีเกิด
– เพศ
– สุขภาพ
– สถานภาพการสมรส
– สถานะทางทหาร (เฉพาะเพศชาย)
7. ทักษะพิเศษ
– ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ
– ความสนใจ และงานอดิเรก
8. ผู้รับรอง
– ในข้อนี้ ไม่ใช่ข้อบังคับ แต่หากคุณมีผู้ที่สามารถรับรองในคุณสมบัติที่ดีของคุณได้ อาจทำให้คุณมีโอกาสได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษก็ได้
– ผู้รับรองไม่ควรเป็นญาติ พี่น้อง เพื่อนฝูง หรือครูสมัยเรียนประถมหรือมัธยม
9. ตรวจสอบความถูกต้องให้เรียบร้อย
– เพื่อเพิ่มความมั่นใจว่าไม่มีสิ่งใดผิดพลาด หรือตกหล่นในเรซูเม่ของคุณ เช่น การสะกดคำ และการตัดคำ ทั้งยังเป็นการแสดงความรอบคอบของตัวคุณด้วย
เมื่อทราบหลักในการเขียน RESUME แล้ว เพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้น มาดูตัวอย่าง RESUME กันดีกว่าค่ะ
ที่มา: http://www.sc.psu.ac.th